วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


 เนื้อหาบทที่ 12
การเขียนบันเทิงคดี


เป็นการเขียนที่มุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ทาให้เกิดความเพลิดเพลิน และสนุกสนานตามความรู้สึกของผู้อ่านแต่ละคน การเขียนบันเทิงคดีไม่ได้จากัดอยู่เฉพาะเรื่องจริง แต่มีทั้งความฝันและจินตนาการผสมผสานกันอย่างหลากหลาย

การเขียนบันเทิงคดี หมายถึง การกาหนดเหตุการณ์ขึ้นมาให้เป็นเรื่องราวหรือผูกเรื่องสมมติให้เป็นเรื่องเหมือนชีวิตจริง และเรื่องราวนั้นจะก่อให้เกิดผลอย่างหนึ่งตามมา


การเขียนเรื่องสั้น (Short Story)

เรื่องสั้น ต้องมีโครงเรื่องง่ายๆไม่ซับซ้อน มักมีแนวคิดหลักเดียวเท่านั้น ตัวละครมีจานวนน้อย อาจมีหนึ่งหรือสองสามตัว

องค์ประกอบของเรื่องสั้น

แบ่งออกได้ 6 องค์ประกอบ

1) แก่นเรื่อง คือ แนวความคิดหรือจุดสาคัญของเรื่องที่ผู้แต่งมุ่งจะสื่อให้ผู้อ่านทราบ แต่เนื่องจากเรื่องสั้นมีขนาดจากัด เรื่องสั้นจึงมีแก่นเรื่องเพียงแก่นเดียว หรือมุ่งสะท้อนแนวคิดของผู้แต่งเพียงประการเดียว เช่น ชี้ให้เห็นความแปลกประหลาดเพียงเรื่องเดียว หรือแสดงอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว หรือแสดงชีวิตในแง่มุมที่แปลกเพียงแง่เดียว เป็นต้น

2) โครงเรื่อง คือ เค้าโครงเรื่องที่ผู้แต่งกาหนดไว้ก่อนว่าจะแต่งเรื่องไปในทานองใด จึงจะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้ติดตามเรื่องอย่างตื่นเต้น โครงเรื่องที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ จาเป็นต้องอาศัยกลวิธีการผูกปม (Complication) การคลายปม (Denouement) และการหน่วงเรื่อง (Suspense) ตลอดจนกลวิธีการเปิดเรื่อง การปิดเรื่องและการดาเนินเรื่องของผู้แต่ง อย่างไรก็ตาม เรื่องสั้นที่ดีควรจะมีโครงเรื่องง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน มีเพียงโครงเรื่องเดียว เพราะมีข้อจากัดในเรื่องความยาว

3) ตัวละคร เรื่องสั้นมุ่งแสดงแก่นของเรื่องเพียงแก่นเดียว ฉะนั้นเพื่อให้เรื่องดาเนินไปสู่จุดหมายปลายทางได้เร็วที่สุด ผู้แต่งจึงนิยมสร้างตัวละครให้มีน้อยตัว คือมีตัวละครเอกเพียงหนึ่งหรือสองตัว จะมีตัวละครประกอบที่เป็นประโยชน์ต่อเรื่องจริง ๆ อีก 2-3 ตัวเท่านั้น

4) บทสนทนา มีประโยชน์ต่อการเขียนเรื่องสั้น เพราะช่วยทาให้เรื่องดาเนินคืบหน้าไปได้โดยผู้แต่งไม่ต้องอธิบายให้ยืดยาว ช่วยสะท้อนบุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของตัวละคร หรือช่วยสร้างบรรยากาศของเรื่องให้เป็นไปตามธรรมชาติ

5) ฉาก คือ สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง ซึ่งหมายรวมถึงเวลาและสภาพที่แวดล้อมเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วย ฉากที่สาคัญในเรื่องสั้นมักจะมีการกล่าวถึงเพียงฉากเดียว

6) บรรยากาศ คือ อารมณ์ต่าง ๆ ของตัวละครที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีอิทธิพลทาให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามไปตามด้วยการสร้างบรรยากาศจาเป็นต้องอาศัยรายละเอียดจากส่วนประกอบอื่น ๆ ของเรื่องด้วย เช่น สิ่งของ



เครื่องใช้ สีหน้า ท่าทาง เครื่องแต่งกายและบทสนทนาของตัวละคร ตลอดจนเครื่องประกอบฉาก เช่น แสง สี และเสียง เป็นต้น เรื่องสั้นที่ดีจะต้องมีฉากและบรรยากาศที่สมจริงและที่สาคัญคือทั้งสองสิ่งนี้จะต้องสัมพันธ์กันและต้องสอดคล้องกับเนื้อเรื่องด้วย

วิธีเขียนเรื่องสั้น

1. เค้าโครงเรื่อง (plot) คือ การสร้างเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาเริ่มเรื่องและจบเรื่อง การสร้างโครงเรื่องนี้มีหลัก 3 ประการคือ 1.1 โครงเรื่องต้องมีความสับสนวุ่นวาย มีปัญหาต้องแก้ไข มีการผูกปมที่ซับซ้อน 1.2 ในการดาเนินเรื่อง จะไม่ราบรื่น หากแต่ต้องมีอุปสรรคทาให้เรื่องสนุก หรือมีเหตุการณ์ที่ทาให้ผู้อ่านรอคอยต่อไป 1.3 ปมนั้นค่อยๆคลี่คลาย จนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง (climax) เป็นการจบหรือปิดเรื่อง



โครงเรื่องประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เริ่มเรื่อง ดาเนินเรื่องสู่จุดของความขัดแย้ง (Climax) และจบเรื่อง

2. ตัวละคร มีตัวละครน้อย จะต้องมีตัวหนึ่งซึ่งเป็นตัวสาคัญของเรื่อง ตัวละครนี้จะต้องมีบทบาทเพื่อ แสดงลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งอย่างใดก่อให้เกิดเรื่องราวขึ้น



2.1 สร้างตัวละครให้สมจริง

2.2 การแสดงอุปนิสัยของตัวละครอาจบรรยายหรือเป็นบทที่ตัวละครพูดเอง

2.3 การแสดงอุปนิสัยของตัวละครต้องเสมอต้นเสมอปลายตั้งแต่เริ่มเรื่องจนจบเรื่อง

2.4 ตัวละครไม่มากเกินไป

2.5 การตั้งชื่อตัวละคร ควรตั้งชื่อให้ใกล้เคียงกับชื่อคนจริงๆ ส่วนชื่อเรื่อง ควรพยายามตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่าน เกิดความอยากอ่าน โดยใช้คาสั้นๆเพียง 2-3 คา แต่ให้น่าทึ่ง

3. ฉาก ต้องมีการระบายสภาพและบรรยากาศ (Local Color) หมายถึงการพรรณนาภาพอันใดอันหนึ่งเพื่อนาความคิดของผู้อ่าน ให้ซาบซึ้ง ในท้องเรื่อง ให้เห็นฉากที่เราวาดด้วยตัวอักษรนั้นชัดเจน



3.1 เลือกฉากให้เหมาะสมกับเรื่อง และดาเนินเรื่องตามบรรยากาศที่ถูกต้อง 3.2 ผู้เขียนต้องเขียนฉากที่ตนรู้จักดีที่สุด เพราะจะได้ภาพที่แจ่มชัด

4. บทสนทนา ต้องเขียนให้เป็นภาษามนุษย์พูดกัน และต้องให้เหมาะกับบทบาทและเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับตัวละคร มีข้อปฏิบัติ คือ 4.1 ไม่พูดนอกเรื่อง 4.2 เป็นคาพูดง่ายต่อการเข้าใจ เหมาะสมแก่ฐานะของตัวละคร 4.3 รู้จักหลากคา ไม่ใช้คาซ้าซาก



4.4 พูดให้ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย ไม่ใช้คาฟุ่มเฟือย

5. การเปิดเรื่อง เป็นหัวใจของการเขียนเรื่อง เพราะจะทาให้ผู้อ่านติดตามต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิธีการเปิดเรื่อง ซึ่งมีอยู่หลายวิธี คือ 5.1 สร้างเหตุการณ์หรือการกระทาให้เกิดความสนใจ น่าตื่นเต้น 5.2 เปิดเรื่องโดยใช้บทสนทนาที่มีถ้อยคาแปลกในความหมายและเนื้อเรื่อง ก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากติดตามเรื่องต่อไป 5.3 เปิดเรื่องโดยการพรรณนา พรรณนาฉาก หรือบรรยายฉากที่ชวนให้ผู้อ่านสนใจ



6. การดาเนินเรื่อง ต้องคานึงถึงคือ 6.1 ควรดาเนินเรื่องไปสู่จุดหมายโดยเร็ว 6.2 ปมของเรื่องควรมีความขัดแย้ง 1 แห่ง แล้วค่อยๆคลายปมทีละน้อย

7. การปิดเรื่อง เป็นตอนที่สาคัญที่สุด ผู้อ่านจะทราบว่าเรื่องจะจบลงอย่างไร ซึ่งเป็นจุดสุดยอดของเรื่อง คือ 7.1 จบลงโดยที่ทาให้ผู้อ่านประหลาดใจ คาดไม่ถึง 7.2 จงลงด้วยความสมปรารถนา หรือสิ้นหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น